การประพันธ์โคลงสี่สุภาพเป็นประณีตศิลป์ ที่ใช้ถ้อยคำตัวอักษรเป็นสื่อแสดงความคิดของผู้สรรค์สร้าง ซึ่งต้องการสะท้อนอารมณ์สะเทือนใจและก่อให้ผู้อ่านคล้อยตามไปด้วย ผู้อ่านต้องรับรู้ความงามด้วยใจโดยตรง ดังนั้นผู้สร้างสรรค์งานวรรณศิลป์จึงต้องช่างสังเกต รู้จักพินิจพิจารณามองเห็นจุดที่คนอื่นมองข้ามหรือคาดไม่ถึง และใช้ถ้อยคำที่ละเมียดละไม ผลงานนั้นจึงจะทรงคุณค่า
ลักษณะโคลงสี่สุภาพ
คณะของโคลงสี่สุภาพ คือ บทหนึ่ง มี 4 บาท (เขียนเป็น 4 บรรทัด) 1 บาทแบ่งออกเป็น 2 วรรค
โดยวรรคแรกกำหนดจำนวนคำไว้ 5 คำ ส่วนวรรคหลัง ในบาทที่ 1,2 และ 3 จะมี 2 คำ (ในบาทที่ 1 และ 3 อาจเพิ่มสร้อยได้อีกแห่งละ 2 คำ) ส่วนบาทที่ 4 วรรคที่ 2 จะมี 4 คำ รวมทั้งบท มี 30 คำ และเมื่อรวมสร้อยทั้งหมดอาจเพิ่มเป็น 34 คำ
ส่วนที่บังคับ เอก โท (เอก 7 โท 4) ดังนี้
บาทที่ 1 (บาทเอก) วรรคแรก คำที่ 4 เอก และคำที่ 5 โท
บาทที่ 2 (บาทโท) วรรคแรก คำที่ 2 เอก วรรคหลัง คำแรก เอก คำที่ 2 โท
บาทที่ 3 (บาทตรี) วรรคแรก คำที่ 3 เอก วรรคหลัง คำที่ 2 เอก
บาทที่ 4 (บาทจัตวา) วรรคแรก คำที่ 2 เอก คำที่ 5 โท วรรคหลัง คำแรก เอก คำที่ 2 โท
หนังสือจินดามณี ของ พระโหราธิบดี
ตัวอย่าง
นิพนธ์กลกล่าวไว้ เป็นฉบับ
พึงเพ่งตามบังคับ ถี่ถ้วน
เอกโทท่านลำดับ โดยที่ สถิตนา
ทุกทั่วลักษณะล้วน เล่ห์นี้คือโคลง
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น